ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ดาบ ๒ '

    ดาบ ๒  หมายถึง น. (๑) ชื่อปลาทะเลที่มีลําตัวเรียวยาว แบนข้าง สีเทาเงิน เช่น ดาบเงินดาบลาว. (๒) ดู ท้องพลุ.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ดาบเงิน

    น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Trichiuridae ได้แก่ ชนิด Trichiuruslepturus ซึ่งชุกชุมที่สุด ชนิด Tentoriceps cristatus, Eupleurogrammusmuticus และLepturacanthus savala ทุกชนิดมีลักษณะคล้ายกันมากคือมีหัวแหลมลาดตํ่าไปข้างหน้า ปากล่างยื่นฟันคมแข็งแรง ตัวยาวมาก แบนข้าง เรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหางครีบหลังยาวเกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็นเพียงแถวของหนามแข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้องไม่มี ครีบท้องหรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังสีเงินหรือเทา, ดาบ ก็เรียก.

  • ดาบลาว

    น. ชื่อปลาทะเลชนิด Chirocentrus dorab และ C. nudus ในวงศ์Chirocentridae ปากเชิดขึ้น มีฟันแหลมคมมาก ลําตัวยาว แบนข้างท้องเป็นสันแหลม แนวสันหลังและสันท้องตรงเกือบขนานกัน ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบท้องมีขนาดเล็กมาก เกล็ดเล็กและบาง ด้านหลังลําตัวสีนํ้าเงิน ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน, ฝักพร้า หรือดาบ ก็เรียก.

  • ดาบส

    [-บด] น. ผู้บําเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี. (ป., ส. ตาปส), เพศหญิงใช้ว่า ดาบสินี. (ป. ตาปสินี), ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).

  • ดาม ๑

    ก. ทาบประกอบหรือประกับให้แข็ง เช่น ดามไม้คาน, ทาบหรือปะให้หนาเพื่อให้คงทน เช่น ดามผ้า.

  • ดาม ๒

    ก. ด้อม, เดินประกับไป, มักใช้เข้าคู่กับคํา ด้อมว่า ดามด้อม เช่น มาอยู่ดามด้อมหน. (ม. คําหลวง มัทรี), ใช้ว่า ด้าม ก็มี เช่น เสือสางด้ามด้อมทาง. (ลอ).

  • ด้าม

    น. ส่วนของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ใช้ถือใช้จับ เช่น ด้ามมีด ด้ามขวาน, ลักษณนามเรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ด้าม เช่น ปากกาด้ามหนึ่ง ปากกา๒ ด้าม; ต้น, ทาง, เช่น โดยด้ามอาทิสวคนธ์. (ม. คําหลวง จุลพน), ผู้เผด็จด้ามตัณหา. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์), โดยด้ามอาทิทศธรรมสนท้าว.(ม. คําหลวง นครกัณฑ์), แลราชผู้มีอยู่ในด้ามมารคธรรม. (ม. คําหลวงนครกัณฑ์).

  • ด้ามจิ้ว

    น. ชื่อพัดชนิดหนึ่งที่คลี่ได้พับได้อย่างพัดจีน.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒